วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเพณีบึงกาฬ


ที่มาของงาน
การขอพระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” จารึกถ้วยรางวัล
               เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 อำเภอบึงกาฬ ร่วมกับเทศบาลตำบลบึงกาฬ และชมรมกีฬา อำเภอบึงกาฬ ได้กำหนดจัดงาน โครงการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ประจำปี 2544 ซึ่งจัดขึ้นเป็น ประจำทุกปีติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี และได้ขอพระราชทาน พระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยย่อ “สธ” จารึกที่ถ้วยรางวัล เพื่อมอบแก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2544 ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ ผ่านทาง สำนักงานจังหวัดหนองคายวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 อำเภอบึงกาฬ ได้รับแจ้งจากสำนักงานจังหวัดหนองคายพร้อมสำเนาหนังสือ  จากสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0008/2028 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 โดยแจ้งว่าสำนักงานราชเลขาธิการ โดยกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทแล้ว พระราชทานพระราชานุญาต ให้ใช้ข้อความจารึกที่ถ้วยรางวัล เพื่อดำเนินการแข่งขันเรือประเพณีไทย-ลาว ได้ และเมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว ให้รายงานสรุปผลการแข่งขันให้จังหวัดทราบ ภายใน 7 วัน

 กำหนดการแข่งขัน
                      จังหวัดหนองคาย และอำเภอบึงกาฬร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบึงกาฬ และเทศบาลตำบลบึงกาฬ ได้กำหนดจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๓ โดยมีรายละเอียดการแข่งขัน ดังนี้
๑. สถานที่จัดงาน     ๑.๑ กองอำนวยการ ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
     ๑.๒ สนามแข่งขันตามแม่น้ำโขงฝั่งประเทศไทยจากบริเวณหัวเขื่อนถึงกองอำนวยการระยะทาง ๑,๒๐๐ เมตร
๒. กำหนดการจัดงาน   :  วันที่ ๑๐-๑๒ กันยายน ๒๕๕๓ รวม ๓ วัน
     ๒.๑ วันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ แข่งขันเรือยาวเล็กประเภทท้องถิ่นรอบคัดเลือก
            – เวลา ๐๘.๐๐ น. จับสลากร่องน้ำ
            – เวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มการแข่งขัน
     ๒.๒ วันเสาร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๓ แข่งขันเรือยาวเล็กประเภทท้องถิ่นรอบรองและรอบชิงชนะเลิศแข่งขันเรือยาวใหญ่ประเภทท้องถิ่น และแข่งขันเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป รอบคัดเลือก
            – เวลา ๐๘.๐๐ น. จับสลากร่องน้ำ
            – เวลา ๐๙.๐๐ น. ขบวนอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ เข้าสู่บริเวณเวทีกลาง
            – เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานฯ
            – เวลา ๑๑.๐๐ น. เริ่มการแข่งขันเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป, เรือยาวใหญ่ประเภทท้องถิ่นรอบคัดเลือก 
และการแข่งขันเรือยาวเล็ก ประเภทท้องถิ่นรอบรอง-รอบชิงชนะเลิศ
     ๒.๓ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๓ แข่งขันเรือยาวใหญ่ประเภทท้องถิ่นและเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป รอบรอง-รอบชิงชนะเลิศ
            – เวลา ๐๘.๐๐ น. จับสลากร่องน้ำ
            – เวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มการแข่งขัน
            – เวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มการแข่งขัน
            – เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีรับถ้วยพระราชทานฯ มอบรางวัลพร้อมถ้วยเกียรติยศและพิธีปิดการแข่งขัน
๓. การแข่งขัน มี ๓ ประเภท คือ     ๓.๑ เรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป ฝีพาย ๕๐-๕๕ ฝีพาย
     ๓.๒ เรือยาวใหญ่ประเภทท้องถิ่น ฝีพาย ๕๐-๕๕ ฝีพาย
     ๓.๓ เรือยาวเล็กประเภทท้องถิ่น ฝีพาย ๒๐-๒๕ ฝีพาย
๔. การรับสมัคร
     ๔.๑ เรือยาวเล็ก ประเภทท้องถิ่น คณะกรรมการจะเชิญทีมเรือด้วยตัวเอง (ไม่รับสมัคร)
     ๔.๒ เรือยาวใหญ่ทั้ง ๒ ประเภท คณะกรรมการจะเชิญทีมเรือด้วยตัวเอง (ไม่รับสมัคร)
๕ การจับสลากแบ่งสาย
     วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะกรรมการจับสลบากแบ่งสายขอให้ตัวแทนทีมเรือ ทั้ง ๓ ประเภท ไปร่วมดำเนินการดังกล่าว หากไม่สามารถไปได้คณะกรรมการจะดำเนินการแทนและให้ถือว่าถูกต้องจะเรียกร้องสิทธิใด ๆ ไม่ได้
๖. วิธีการแข่งขัน
      ๖.๑ เรือยาวใหญ่ประเภททั่วไปและประเภทท้องถิ่น
            – จับสลากร่องน้ำ
            – ประเภททั่วไป การแข่งขันให้มีเที่ยวละ ๒ ลำ สลับร่องน้ำ
            – ประเภทท้องถิ่น การแข่งขันให้มีเที่ยวละ ๒ ลำ สลับล่องน้ำ
            – ประเภทท้องถิ่น การแข่งขันให้มีเที่ยวละ ๒ ลำ สลับร่องน้ำ
            – การแข่งขัน ทั้ง ๒ ประเภท (ไม่เกินสายละ ๔ ลำ) จะแข่งขันแบบพบกันหมดในสาย เพื่อเก็บคะแนนเอาทีมที่มีคะแนนอันดับ ๑ และ ๒ ของสายไปแข่งรอบต่อไป
     ๖.๒ เรือยาวเล็กประเภทท้องถิ่น
            – จับสลากร่องน้ำ
            – การแข่งขันให้มีเที่ยวละ ๒ ลำ สลับล่องน้ำ
            – การแข่งขันจะแข่งขันแบบพบกันหมดในสาย (ไม่เกินสายละ ๓-๔ ลำ) 
เพื่อเก็บคะแนนเอาทีมที่มีคะแนนอันดับ ๑ และ ๒ ของสายไปแข่งรอบต่อไป
     ๖.๓ รายละเอียดวิธีการแข่งขัน ตามกติกาการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๓ อำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย
๗. คุณสมบัติของฝีพาย     ๗.๑ มีสุขภาพร่างการแข็งแรง
     ๗.๒ สามารถว่ายน้ำในชุดพายเรือได้ไกล และนานพอสมควร
๘. การปฏิบัติของทีมเรือ     ๘.๑ ให้แต่ละทีมเตรียมเรือและไม้พายไปเองเรือที่ใช้แข่งขันจะนำมาจากที่ใดก็ได้
     ๘.๒ เรือยาวใหญ่จะต้องเป็นเรือที่ขุดด้วยไม้เท่านั้น ส่วนเรือยาวเล็กใช้ได้ทั้งเรือขุดและเรือที่ต่อด้วยไม้
     ๘.๓ ต้องจัดหาเรือลากจูงเองทุกลำ
๙. รางวัล
     ๙.๑ รางวัลเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป (ก) มี ๔ รางวัล
            – ชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ และเงินรางวัล ๓๐๐,๐๐๐ บาท
            – รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินรางวัล ๒๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๓ เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
     ๙.๒ รางวัลเรือยาวใหญ่ประเภทท้องถิ่นมี ๔ รางวัล
            – ชนะเลิศ เงินรางวัล ๒๐๐,๐๐๐ บาท
            – รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินรางวัล ๗๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๓ เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
     ๙.๓ รางวัลเรือยาวเล็กประเภทท้องถิ่น มี ๔ รางวัล
            – ชนะเลิศ เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท
            – รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๓ เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
     ๙.๔ รางวัลเรือยาวใหญ่ประเภททั่วไป (ข) มี ๔ ประเภท
            – ชนะเลิศ เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท
            – รองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินรางวัล ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๑๒,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
            – รองชนะเลิศอันดับ ๓ เงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียติยศ
     ๙.๕ การครองรางวัลถ้วยพระราชทานฯ ทีมเรือที่ชนะจะต้องชนะเลิศติดต่อกัน ๓ ปี จึงจะได้ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ สำหรับทีมเรือที่ชนะแต่ละปี
            คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะจัดทำถ้วยจำลองให้ไว้เป็นเกียรติ
 ข้อมูลจาก : www.nongkhai.go.th/bungkan

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น