วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติบึงกาฬ

ประวัติความเป็นมาอำเภอบึงกาฬอำเภอบึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม  ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง  ตรงข้ามเมืองปากซัน  แขวงบลิคำไซ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี   พ.ศ.2459  ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม ่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย  ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง  กว้างประมาณ 160 เมตร  ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป  ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย   ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา  อำเภอพรเจริญ  อำเภอศรีวิไล  และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ  ตามลำดับบปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ   ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ  หมู่ที่ 1   ตำบลบึงกาฬ   ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ  136  กิโลเมตร   มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด  673.262   ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น  2 ส่วน  ได้แก่  การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี  ตำบลหอคำ  ตำบลหนองเลิง ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคำนาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย
การปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วยสุขาภิบาล  1  แห่ง  คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ครบทุกตำบล ยกเว้นตำบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตำบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อมูลอื่นๆ

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบึงกาฬอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของการปกครองจังหวัดหนองคาย
(ห่างจากจังหวัด 136 กิโลเมตร) มีพื้นที่ 833.85 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต
ทิศเหนือ               ติดแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองปากซัน สปป.ลาว)
ทิศใต้                   ติดอำเภอโซ่พิสัย,ศรีวิไล และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก        ติดอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันตก          ติดอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย

สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม (ร้อน)มี ฤดู

คำขวัญประจำอำเภอบึงกาฬ

สองนางศาลศักดิ์สิทธ์     อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง   สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า    น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ       สุขสำราญที่ได้ยล

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเดินทางไปบึงกาฬ


การเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬสามารถเดินทางได้หลายทางดังนี้

Camaro Icon 72x72px   1.รถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี (ที่นี่เป็นที่มาของ คำพูด “สระบุรีเลี้ยวขวา”) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ (ประมาณ 11 ชั่วโมง 4 นาที)



Bus Icon 48x48px   2. รถโดยสารประจำทาง 
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ 
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th/โทรศัพท์ : 02 – 936 – 2841 – 48, 02 – 936 – 2852 – 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com/ได้นำรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 042 245 789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2  ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
  และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หรือที่รู้จักในนาม “หมอชิต2″ และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม หรือสาย 225 อุดร –นครพนมวิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนคร ทุกวัน ดูรายละเอียดการเดินรถทัวร์ทั่วประเทศได้จาก เว็บรถทัวร์ไทย.คอม    http://www.rottourthai.com/    

Tram Icon 48x48px  3. รถไฟ 
มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ – อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020  www.railway.co.th  สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

Plane Icon 48x48px  4. เครื่องบิน 
สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัดhttp://www.thaiairways.co.th/  ศูนย์สำรองที่นั่ง 023561111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์
   www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955




ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอ
Green 2 iconอ.พรเจริญ                                             -       กิโลเมตร
Red 2 iconอ.ปากคาด                                     44.89  กิโลเมตร
Yellow 2 iconอ.ศรีวิไล                                       20.67  กิโลเมตร
Blue 2 iconอ. โซ่พิสัย                                   79.20    กิโลเมตร
Flame 2 iconอ.เซกา                                      101.79   กิโลเมตร
Chrome icon  อ.บุ่งคล้า                                     42.52    กิโลเมตร
Purple 2 iconอ.บึงโขงหลง                                 89.04     กิโลเมตร



วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ 77 “จังหวัดบึงกาฬ”

อันดับที่ 10 วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน)

  
จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 212 ไป 90 กิโลเมตร 
ถึงอำเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไปอีก 500 เมตร
 วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้
และลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอน
ให้ผู้คนสักการะ บูชา บนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ
หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว

@@@@@@@@@@@@

อันดับที่ 9 น้ำตกธารทิพย์


(อยู่ในหนองคาย) อยู่เลยอำเภอสังคมไปประมาณ กิโลเมตร 
โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 211 ถึงบริเวณ กม. 97-98
มีป้าย บอกทาง เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถ
ต้องเดินเท้าอีก 100 เมตรจึงถึงตัวน้ำตก น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกที่สูง
และ สวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี แบ่งออกเป็น ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตก
ชั้นแรกสูงประมาณ 30 เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาวสีขาวสู่
แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชั้นที่ สูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทาง
ที่ทำไว้ และชั้นที่ สูงประมาณ 70 เมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
และจะมีน้ำมากในฤดูฝน


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ น้ำตกชะแนน




จากนั้นไปชม น้ำตกชะแนน ซึ่ง นับเป็นน้ำตกที่ใหญ่
และสวยงามที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
และเดินทางเข้าถึงได้ยากที่สุด การเดินทางเข้าน้ำตกชะแนนสามารถ
เข้าได้ ทาง โดยรถยนต์ขับเคลื่อน ล้อ และทางเรือ
ที่เป็นไฮไลท์ของน้ำตกชะแนน ก็คงจะเป็น สะพานหิน
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้แนวหินที่มีความยาว
ประมาณ 100 เมตร และมีบึงจระเข้ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เหนือน้ำตก
เดินตัดน้ำตกขึ้นไปอีกประมาณ 300 เมตร บริเวณริมบึงมีหาดทรายกว้าง
เหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นที่กางเต้นท์พักแรมได้ค่ะ


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ น้ำตกเจ็ดสี




และที่ดูจะพลาดไม่ได้ก็คงเป็นการไปชมน้ำตกที่มีชื่อเสียง
ของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูวัว อย่าง น้ำตกเจ็ดสี โดยแต่เดิมชื่อน้ำตกกะอาม
มี ชั้น เป็นน้ำตกจาหน้าผาสูงทำให้เกิดเป็นละอองน้ำ
เมื่อกระทบกับแสงแดดจึงเกิดสีต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อน้ำตกนั่นเองค่ะ


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว





ซึ่ง ถือว่าเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารที่สำคัญของบึงกาฬอีกด้วยค่ะ
ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว นั้นมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการชมธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ ศาลเจ้าแม่สองนาง




เป็นศาลที่สิงสถิตย์ของเจ้าสองนางลุ่มน้ำโขงที่มีความศักดิ์สิทธิ์
และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและบุคคลทั่วไป


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ กุดทิง




เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีปลาน้ำจืดมากมาย
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและตกแสงจะตกกระทบกับน้ำสวยงามมาก
เหมาะสำหรับเป็นที่นั่งพักผ่อนชมวิวมาก


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ หาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขง




เป็น หาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาว
ประมาณ กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบาย
และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและตกดิน


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ วัดโพธาราม




วัดโพธาราม ตั้งอยู่ที่ ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
เป็นวัดที่ชาวบ้านนับถือ


@@@@@@@@@@@@


อันดับที่ หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม




หลวงพ่อ ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปรางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูน
หน้าตักกว้าง เมตร จากฐานถึงยอดพระเกตุสูง 2.10 เมตร 
จากพระฌานุ (เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร 
และจากพระศอ ถึงยอดพระเกตุ สูง 1.20 เมตร 
พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ
นิ้วพระหัตถ์ทั้ง เหยียดทั้ง เหยียดลงอย่างมีระเบียบ
เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป ประดิษฐานอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม
ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2537